วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อัพเดทข้อมูลใหม่...เรื่องวัคซีนแมว (คนเลี้ยงแมวต้องใส่ใจนะค่ะ)



อัพเดทข้อมูลใหม่...เรื่องวัคซีนแมว (Cat Magazine)
เรื่อง : สพ.ญ.ประพาฬรัตน์ ศุกสิทธิจันทร์

          ผู้เลี้ยงแมวทั้งหลายคงทราบกันดีอยู่แล้ว ว่าการดูแลสุขภาพที่ดีที่สุดของแมวคือ การทำวัคซีนป้องกันโรค เพราะเป็นการป้องกันน้องเหมียวจากโรคติดเชื้อร้ายแรง วันนี้เราจะมาคุยกันถึงเรื่องการกำวัคซีนว่าควรทำวัคซีนอะไรบ้าง และโปรแกรมวัคซีนอัพเดทล่าสุดที่ทางชมรมสัตวแพทย์ผู้บำบัดโรคแมวแห่งประเทศไทยได้จัดทำขึ้น โดยปรับให้เหมาะสมสำหรับบ้านเราค่ะ



ก่อนอื่นขออธิบายกลุ่มของวัคซีนในแมวก่อนนะคะ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

          1. Feline core vaccinations หรือ กลุ่มวัคซีนที่ควรทำ ได้แก่

          วัคซีนไข้หัดและหวัดติดต่อในแมว Feline Herpes virus, Feline Calicivirus and Feline Panleukopenia Virus Vaccines (FPV + Cat Flu) ควรเริ่มทำเข็มแรกที่อายุ 2 เดือน กระตุ้นซ้ำเข็มที่ 2 อีก 1 เดือนหลังจากทำเข็มแรก จากนั้นอีก 1 เดือนกระตุ้นซ้ำเข็มที่ 3 เมื่อครบ 3 เข็ม แล้วกระตุ้นซ้ำปีละครั้ง

          วัคซีนพิษสุนัขบ้า Feline Rabies Virus Vaccine (RV) ควรเริ่มทำที่อายุ 2-3 เดือน และกระตุ้นซ้ำปีละครั้ง

          วัคซีนลิวคีเมีย Feline Leukemia Vaccine (FeLV) ปัจจุบันได้ถูกจัดเข้าไปรวมอยู่ในกลุ่มวัคซีนหลักแล้วเนื่องจากเป็นโรคติดเชื้อที่สำคัญ มีผลต่อร่างกายทุกระบบ ทำให้เกิดโรคมะเร็งในแมวและทำให้มีอัตราการเสียชีวิตที่สูง ควรเริ่มทำเข็มแรกที่อายุ 10 สัปดาห์ และกระตุ้นซ้ำเข็มที่ 2 อีก 1 เดือนหลังจากทำเข็มแรก แล้วกระตุ้นซ้ำทุกปี และควรมีการตรวจเชื้อไวรัสก่อนที่จะเริ่มทำวัคซีนเข็มแรก สามารถเริ่มทำวัคซีนเข็มแรกได้เมื่อตรวจไม่พบการติดเชื้อไวรัสลิวคีเมีย



          2. Feline optional vaccinations หรือ วัคซีนทางเลือก (จะทำหรือไม่ทำขึ้นอยู่กับความเสี่ยงในการติดเชื้อ ได้แก่

          วัคซีนเยื่อบุช่องท้องอักเสบ Feline Infectious Peritonitis Vaccine (FIP) เริ่มทำเข็มแรกที่อายุ 4 เดือน แนะนำให้ทำในแมวกลุ่มเสี่ยง

          วัคซีนโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องในแมว Feline Immunodeficiency Virus Vaccine (FIV) เริ่มทำเข็มแรกที่อายุ 2 เดือนโดยต้องตรวจไม่พบการสัมผัสเชื้อ (ไม่พบแอนติบอดี) แนะนำให้ทำในแมวกลุ่มเสี่ยง


          การทำวัคซีน 2 ชนิดนี้ ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น ได้แมวมาจากแหล่งเสี่ยงต่อการติดโรค ลักษณะการเลี้ยงแมวที่เสี่ยงต่อการติดโรค และพฤติกรรมแมวที่เสี่ยงต่อการติดโรค



วัคซีนหลัก

โรค 
ปีแรก 
Booster

เข็มแรก
เข็มที่ 2
เข็มที่ 3

โรคไข้หัดและหวัดติดต่อในแมว
8-9 สัปดาห์
12 สัปดาห์
16 สัปดาห์
ทุกปี ปีละ 1เข็ม
โรคพิษสุนัขบ้า
8-12สัปดาห์
-
-
ทุกปี ปีละ 1เข็ม
โรคไวรัสลิวคีเมีย
10 สัปดาห์
14 สัปดาห์
-
ทุกปี ปีละ 1เข็ม




วัคซีนกลุ่มเสี่ยง
โรค 
เข็มแรก 
หมายเหตุ 
โรคไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่อง
8 สัปดาห์
สัตวแพทย์พิจารณาตามความเหมาะสมให้เฉพาะในแมวกลุ่มเสี่ยง
โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ
16 สัปดาห์



          การวัคซีนเป็นประจำทุกปีเป็นการป้องกันน้องเหมียวจากโรคติดเชื้อซึ่งทำได้ง่ายกว่าการรักษาแน่นอน อีกทั้งทำให้มีโอกาสได้ตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่เนิ่น ๆ จากสัตวแพทย์ ทำให้ไม่ต้องเสียเงินจำนวนมากในการรักษาโรค และไม่ต้องเสียน้องเหมียวที่เรารักไป กันไว้ดีกว่าแก้จริงไหมคะ



ขอบคุณ http://www.kapook.com/

Funny Cat haha

 =======================================================================
 =======================================================================
 =======================================================================
 =======================================================================
 =======================================================================
=======================================================================
 =======================================================================
 =======================================================================
 =======================================================================
 =======================================================================
 =======================================================================
 =======================================================================
=======================================================================

=======================================================================
Cat energy  LOL



วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ดูรูปน้องแมวน่ารัก ก่อนนอนฝันดีจ้า

โอ้ มายยกอดด~~

ฮั่นแน่ ทำอะไรกันน่ะ

ดูหน้าตาน่าสงสาร >_<

จ๊ะเอ๋!! แอบใครอยู่เอ่ย

มองหน้า มีปัญหาไหม!!?

เฮ้ นายคิดเหมือนที่ฉันคิดไหม B1 ? ฉันก็คิดเหมือนนายละ B2

A:ฉันคิดว่าในกลุ่มเรามีสายลับนะ
B: มีที่ไหน ไม่มีหรอก คิดมากป่าว 

ว่าไงไอ่น้อง รู้ไหมแถวนี้ใครหญ่ายยย


วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ชมความน่ารักของเจ้าเอนโซ่ เสือที่เชื่องเหมือนแมวเหมียว




         เจ้าของเอนโซ่ คือ ไมเคิล เจมีสัน วัย 37 ปี และแจ๊คกี้ สมิธ แฟนสาวของเขา ได้นำเอนโซ่มาเลี้ยงที่บ้านตั้งแต่มันอายุเพียง 9 เดือน จนกระทั่งตอนนี้มีอายุได้ 1 ปี พบว่ามันเติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็วมาก ซึ่งขณะนี้มันมีน้ำหนักตัว 150 กิโลกรัม โดยบริโภคเนื้อถึงวันละ 5 กิโลกรัม


        ทั้งนี้เอนโซ่ ใช้ชีวิตเป็นปกติราวกับเป็นสัตว์เลี้ยงภายในบ้านตัวหนึ่ง ร่วมกับมะหมาอีก 14 ตัว ที่นายไมเคิลเลี้ยงไว้ ไม่ว่าจะกินหรือจะนอน เอนโซ่ก็ทำเหมือนประหนึ่งเป็นหมาแมวตัวหนึ่ง ที่ชอบขึ้นไปนอนบนโซฟานุ่ม ๆ หรือหลับบนเตียงอุ่น ๆ ร่วมกับเจ้าของอย่างสบาย แถมยังชอบกระโดดขึ้นไปกินอาหารบนโต๊ะในห้องครัวอีกด้วย

          ทางด้านนายไมเคิล ออกมาเปิดเผยให้ทราบถึงเหตุผลที่นำเสือมาเลี้ยงที่บ้านให้ฟังว่า ก่อนหน้านี้บ้านของเขาเคยถูกโจรปล้นมาแล้วถึง 2 ครั้ง จนทนไม่ไหว เลยตัดสินใจนำเสือมาเลี้ยงเพื่อให้มันคอยเฝ้าบ้านให้ และยอมรับว่า ตั้งแต่มีเอนโซ่อยู่ในบ้านเขารู้สึกปลอดภัย และอุ่นใจขึ้นเยอะ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องโจรอีกต่อไป

          อย่างไรก็ดี เขายังคอยเตือนตัวเองเสมอว่า แม้ว่าเจ้าเอนโซ่จะเชื่อง และเชื่อฟังเขามากขนาดไหน แต่เสือก็เป็นเสืออยู่วันยังค่ำ และสัญชาตญาณสัตว์ป่ายังมีอยู่ภายในตัวมันเสมอ ฉะนั้นเขาต้องคอยระมัดระวังมันตลอดเวลา





พจนานุกรมภาษาเหมียว(จบ)


การทำเครื่องหมายและกลิ่น

           เป็นการสื่อสารที่ติดแน่นทนนานแม้แมวจะไม่อยู่ตรงนั้นแล้ว เนื่องจากประสาทสัมผัสในการรับกลิ่นของแมวดีกว่าคนมาก จึงมักใช้กลิ่นช่วยในการสื่อสารอยู่บ่อย ๆ

            ฉี่เพื่อทำเครื่องหมาย แมวจะยืนตรงยกหางขึ้นและสเปรย์ฉี่ปริมาณเล็กน้อยลงบนพื้นผิวที่ต้องการทำเครื่องหมาย ซึ่งจะต่างจากการฉี่ปกติ ที่แมวจะย่อขาและฉี่จนหมดในทีเดียว แมวตัวผู้ที่ยังไม่ได้ทำหมันมักฉี่ ทำเครื่องหมายบ่อยกว่าแมวตัวเมียและแมวตัวผู้ที่ทำหมันแล้ว ส่วนแมวตัวเมีย เมื่อเป็นสัดมัดฉี่เพื่อทำเครื่องหมายบ่อยขึ้นซึ่งกลิ่นจะเหนี่ยวนำให้แมวตัวผู้ที่ยังไม่ได้ทำหมันมีพฤติกรรมนี้บ่อยขึ้นตาม

           เมื่อแมวตัวอื่นมาดมกลิ่นฉี่ จะแยกได้ว่าเป็นกลิ่นของแมวตัวไหน และไช่แมวที่รู้จักหรือไม่ การดมกลิ่นฉี่จะนานขึ้นถ้าเป็นกลิ่นของแมวที่ไม่รู้จักโดยเฉพาะถ้าเป็นของแมวเพศตรงข้าม ขณะที่แมวดมกลิ่นมักจะเปิดปากเล็กน้อยและตวัดลิ้นเข้าออกเพื่อให้กลิ่นเข้าไปสัมผัสกับประสาทรับกลิ่นบริเวณเพดานปาก
           
           แมวส่วนมากมักฉี่ทำเครื่องหมายในพื้นที่ของตัวเอง โดยมีเป้าหมายหลักคือ เพื่อบ่งบอกความเป็นตัวเอง เพื่อให้เพศตรงข้ามมาสนใจ และเพื่อบอกให้แมวตัวอื่นอยู่ห่างจากพื้นที่นั้น โดยกลิ่นฉี่จะไม่มีผลให้เกิดความรู้สึกกลัว ข่มขู่ หรือถูกปลุกเร้าแต่อย่างใด แมวตัวผู้มักฉี่เพื่อทำเครื่องหมายบ่อยขึ้นเมื่ออยู่ที่ใหม่ เพื่อให้ตัวเองรู้สึกสบายใจและช่วยลดความเครียด

            การถูเพื่อทำเครื่องหมาย แมวมีต่อมกลิ่นหลายที่ เช่น ใต้คาง มุมปาก ข้างหน้าผาก และโคนหาง จึงพบบ่อยว่าแมวชอบเอาหน้ามาถูกับขาเจ้าของ เครื่องเรือน หรือสัตว์เลี้ยงตัวอื่นในบ้านที่คุ้นเคย แมวจะเริ่มถูจากปลายจมูก ข้างแก้ม มุมปาก และรอบตา ขณะถูก็จะเลียปากและเผยอปากขึ้นจนเห็นฟัน เจ้าของบางคนจึงเข้าใจผิดว่าแมวจะกัด ในกรณีของที่ถูกเป็นเครื่องใช้ เป้าหมายหลักของการถู คือ การทิ้งกลิ่น แต่หากแมวเอาหน้าไปถูเจ้าของ จุดประสงค์หลักคือการแสดงความรักและอยากอยู่ใกล้ชิด ไม่ได้มีเจตนาจะทิ้งกลิ่นเพื่อทำเครื่องหมายแต่อย่างใด กรณีเอาหน้าถูระหว่างแมวด้วยกันเอง ถือเป็นการสื่อสารและการทักทายของแมวที่เป็นพวกเดียวกันแบบหนึ่ง กลิ่นที่บริเวณหัวจะบ่งบอกความเป็นตัวแมวมากกว่าบริเวณอื่น จึงเห็นแมวที่ทักทายกันมักดมกันที่บริเวณหัว มากกว่าจะเป็นบริเวณหางหรือข้างลำตัว

            การข่วนเพื่อทำเครื่องหมาย นอกจากแมวจะข่วนเพื่อลับเล็บแล้ว ยังมีอีกเป้าหมาย คือ การข่วนทำเครื่องหมายเพื่อทิ้งรอยข่วนและกลิ่น จากต่อมเหงื่อบริเวณระหว่างนิ้วเท้าไว้ พื้นผิวที่แมวชอบข่วนคือผิวที่สาก ๆ เช่น ไม้ ผ้าหนา ๆ ขอบประตูหรือเฟอร์นิเจอร์ และมักชอบข่วนซ้ำที่เดิม อาจข่วนของที่อยู่ในแนวนอนหรือในแนวตั้งก็ได้ โดยชอบเหยียดตัวเวลาที่ข่วน เรามักไม่พบแมวไปดมกลิ่นบริเวณที่แมวตัวอื่นข่วนไว้ และแมวมักจะข่วนของที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ของตัวเองเท่านั้น เหตุผลคือกลิ่น และสัญลักษณ์จากการข่วนไม่ได้มีไว้ เพื่อการสื่อสารกับตัวอื่น แต่มีไว้เพื่อให้แมวตัวที่ข่วนผู้เป็นเจ้าของพื้นที่ได้กลิ่นแล้วรู้สึกสบายใจและผ่อนคลาย




เรื่อง : น.สพ.กมล ภาคย์ประเสริฐ 
ที่มา : www.kapook.com

พจนานุกรมภาษาเหมียว(2)



ภาษาท่าทาง

           แมวเป็นสัตว์ที่สื่อสารไม่เก่ง เพราะมีลักษณะนิสัยชอบอยู่ลำพัง ความจำเป็นในการสื่อสารจึงน้อย และแมวแต่ละตัวมีลักษณะนิสัยเฉพาะตัวค่อนข้างสูง ภาษาท่าทางของแมวที่เราเห็นบางครั้งจึงเป็นภาษาที่ใช้เฉพาะในกลุ่มแมวที่เลี้ยงอยู่ร่วมกันในบ้านเท่านั้น การอ่านภาษาท่าทางจำเป็นต้องสังเกตสีหน้า ใบหู หาง และลำตัวประกอบมาดูภาษาแมวหลัก ๆ 7 คำ ที่เจาของควรรู้จักดีกว่าครับ

            ทักทาย (คน) แมวมักแสดงท่านี้กับเจ้าของ โดยยกหางตั้งตรง ซึ่งแสดงถึงความเป็นมิตร เหยียดตัวขึ้นโดยยกขาหลังเล็กน้อย จากนั้นจะเอาจมูกไปแตะเบา ๆ ที่มือหรือที่ขา แล้วเริ่มเอาหน้าไปถู แมวบางตัวอาจเอาตัวไปถูเจ้าของตั้งแต่หัวจนถึงปลายหาง หากเจ้าของเริ่มให้ความสนใจและเอามือมาลูบตอบ แมวจะดันบริเวณนั้นให้ชิดมือคนมากขึ้นทันที เช่น หากเจ้าของลูบที่สะโพกหรือโคนหางแมวมักเหยียดขาหลังขึ้น หรือหากเจ้าของลูบบริเวณคอ แมวมักย่อขาหน้าและหันหน้าไปด้านข้างเพื่อดันส่วนคอชิดกับมือเจ้าของมากขึ้น

            ทักทาย (แมว) ท่าทางจะคล้ายกัน คือยกหางและเหยียดตัว เมื่อเข้ามาใกล้แมวทั้งสองจะเริ่มเอาจมูกมาแตะกันเพื่อดมกลิ่น แล้วไล่ดมไปบริเวณใบหน้า เอาหน้าถูกันเล็กน้อย อาจไล่ไปจนถึงบริเวณไหล่แล้วหยุดลงแถว ๆ ลำตัว หลังจากนั้นอาจนั่งอยู่ข้าง ๆ กัน แล้วเลียแต่งตัวให้อีกฝ่าย หรืออาจจะเดินจากกันไปอย่างสงบ ระดับการทักทายในแมวมีแค่แบเดียวนะครับ คือ ถ้ารู้สึกคุ้นเคยก็ทัก ไม่รู้สึกสนิทใจก็เดินผ่านไปเฉย ๆ จะต่างจากในสุนัขที่มีการทักทายแบบนบนอบ หรือแบบมั่นใจในตัวเอง ขึ้นอยู่กับว่าสุนัขฝ่ายตรงข้ามอยู่ในสถานะที่เหนือกว่าตัวเองหรือไม่

            ชวนเล่น (คน) แมวมักหงายท้องเอาหลังลงเปิดส่วนท้องให้เห็น งอขาหน้า ส่วนขาหลังเหยียดออก ถ้าเจ้าของเอามือเข้ามาเล่นด้วย แมวอาจใช้ขาหน้ามาตะกุยเราโดยที่เก็บเล็บ แมวมักทำท่านี้เวลาที่ต้องการชวนให้คนมาเล่นด้วย หรือเรียกร้องความสนใจเท่านั้น โดยจะไม่ใช้ท่านี้กับแมวด้วยกัน อย่าสับสนกับท่าแบบเดียวกันนี้ในสุนัขที่หมายถึง การยอมแพ้หรือยอมจำนน เพราะสำหรับแมวคือแค่การชวนเล่นเท่านั้นครับ

            ชวนเล่น (แมว) โดยพื้นฐานแมวเป็นสัตว์ที่ชอบเล่นคนเดียว จึงไม่แปลกใจ หากเห็นแมวบางตัว โดยเฉพาะลูกแมว ชอบเดินสำรวจ ปีนป่าย หรือกระโดดไปทั่วโดยเฉพาะเมื่อมีเครื่องเรือนหรือของเล่นชิ้นใหม่เข้ามาในบ้าน แมวโตบางตัวชอบเล่นกับตุ๊กตาหรือของเล่นที่แขวนไว้โดยลำพัง แต่สำหรับแมวที่เลี้ยงด้วยกันมาตั้งแต่เล็ก ๆ บางครั้งก็ต้องการชวนแมวที่เป็นเพื่อนให้มาเล่นไล่จับกัน โดยจะหันตัวเยื้องเดินหรือกระโดดเอาด้านข้างเข้าหาแมวอีกตัว ไม่เดินพุ่งเข้าไปตรง ๆ เพื่อแสดงความเป็นมิตร หูหันไปทางด้านหน้า งอหลังเล็กน้อย ยกหางขึ้นจนบางครั้งหางดูเหมือนรูปตัว U คว่ำ หากแมวตื่นตัวมาก จะพบว่าหางปัดไปปัดมา หรือหางตั้งโค้งเข้าหาตัว และม่านตาขยาย


              คุกคาม เมื่อแมวต้องการที่จะคุกคามแมวตัวอื่น แมวจะพยายามทำตัวเองให้ดูใหญ่ขึ้น ท่าที่แสดงออก คือ ขนตั้งขันตลอดแนวหลัง ดึงหูมาทางด้านหลังเล็กน้อยโดยเบี่ยงไปด้านข้าง หนวดพับไปด้านหน้า ตาจ้องมองไปยังคู่ต่อสู้ หรี่ม่านตา ลดหางลงต่ำและชี้ไปที่พื้น โดยฟาดหางขึ้นลงช้า ๆ โดยเฉพาะในส่วนของปลายหาง แมวอยู่ในท่าที่พร้อมจะพุ่งตัวไปด้านหน้า เพื่อขวางการเคลื่อนไหวหากแมวอีกตัวขยับ

              ธรรมชาติของแมวมักไม่หวงอาหาร หวงของเล่น หรือหวงพื้นที่พักผ่อนมากเท่าสุนัข และก่อนต่อสู้ก็มักจะทำการขู่ก่อน การต่อสู้กันจึงเป็นทางเลือกสุดท้ายเวลาที่แมวอีกตัวไม่ยอมหนีเท่านั้น โดยแมวจะย่อตัว เคลื่อนไหวช้า ๆ โค้งหลังลงต่ำและเกร็งสองเขาหลังเพื่อเตรียมกระโจนใส่

             กลัว เมื่อเจอกับคนแปลกหน้าหรือสัตว์ที่ไม่คุ้นเคย สุนัขที่กลัวอาจหยุดดูท่าทีสักพัก แต่สำหรับแมวเมื่อเริ่มรู้สึกกลัวหรือไม่ปลอดภัย มักเลือกที่จะหนีในทันที ในบางสถานการณ์ที่อยู่ในกรงหรือมุมอับไม่สามารถหนีได้ แมวจะแสดงอาการกลัวให้เห็นโดยหมอบลง ขอตัวให้เล็ก เพื่อไม่ให้ศัตรูมองเห็น ก้มหัวลงต่ำ แล้วเก็บขาหน้าไว้ได้ลำตัว ถ้าดูสีหน้าจะพบว่าม่านตาขยาย หูจะหันไปหาสิ่งที่กลัวเพื่อคอยฟังความเคลื่อนไหว แต่ถ้าหูเริ่มลู่ไปทางด้านหลังเมื่อไหร่ ต้องระวังไว้นะครับ เพราะหมายถึงแมวเตรียมพร้อมที่จะตอบโต้แล้ว

            ก้าวร้าวเพื่อป้องกันตัว เมื่อความกลัวมากถึงจุดหนึ่งแมวก็จะเริ่มเตรียมตัวสู้เพื่อป้องกันตัว โดยจะพยายามทำตัวให้ดูใหญ่ขึ้น เริ่มจากหันด้านข้างเข้าหา โค้งหลัง พองขนออก และหางอาจตั้งขึ้นหรือโค้งลงก็ได้ ขนที่หางจะพองเหมือนแปรงล้างขวด อาการที่แสดงออกทางสีหน้า คือ หูและหนวดลู่ไปทางด้านหลังยกมุมปากขึ้นเผยให้เห็นฟัน ม่านตาเบิกกว้าง ย่นจมูก พร้อมกับส่งเสียงขู่ฟ่อ ปากอาจเปิดเล็กน้อยและเตรียมพร้อมจะกัด หากเป็นการป้องกันตัวในการต่อสู้ระหว่างแมวด้วยกันแมวอาจนอนหงายท้อง เหยียดขาทั้ง 4 ข้างและกางเล็บเพื่อพร้อมจะตะกุยแมวที่บุกเข้ามา


ที่มา: www.kapook.com

พจนานุกรมภาษาเหมียว



พจนานุกรมภาษาเหมียว (Cat Magazine)
เรื่อง : น.สพ.กมล ภาคย์ประเสริฐ 

           สำหรับคนรักแมว คงไม่มีอะไรที่สุขใจไปกว่าการได้เล่นกับแมว หรือดูแมวที่เลี้ยงไว้เล่นด้วยกัน แต่เคยสงสัยกันไหมครับว่าแมวที่บ้าน ตอนนี้เขาคุยอะไรกันอยู่ การสื่อสารของแมวหลัก ๆ มี 3 ทาง คือ การสื่อสารด้วยเสียง ภาษาท่าทางและการทำเครื่องหมายด้วยกลิ่น หรือรอยข่วน ภาษาเหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้ในการสื่อสารกับแมวด้วยกัน จึงมีปัญหาเสมอ ๆ เวลาที่แมวต้องสื่อสารกับคนหรือสัตว์เลี้ยงชนิดอื่นในบ้าน มาศึกษาภาษาแมวเบื้องต้นกันดีกว่าครับ แล้วจะรู้ว่าไม่ใช่เรื่องยากเลยที่เราจะแอบฟังแมวคุยกัน ^^

วันนี้ขอเริ่มที่ ภาษาพูด

           แมวส่งเสียงได้ประมาณ 23 แบบ โดยอาศัยการควบคุมกล่องเสียงและคอทำให้แต่ละเสียงมีความแตกต่างกัน (ต่างจากคนที่ใช้ปากและลิ้น) ระยะในการสื่อสารด้วยเสียงโดยมากจะอยู่ในระยะไม่เกิน 8 ฟุต โดยเฉพาะในกรณีที่แมวร้องเรียกคนเพราะเป็นระยะที่แมวมั่นใจว่าคนจะได้ยิน เนื่องจากภาษาพูดเป็นอะไรที่บรรยายยากในบทความ ขอยกตัวอย่างแค่เสียงหลัก ๆ ที่ได้ยินกันบ่อย ๆ นะครับ

           เสียงคราง (PURR) เสียงสั่นในคอ โดยที่ปากปิดสนิท ลูกแมวเริ่มส่งเสียงนี้เป็นตั้งแต่อายุแค่ 2 วัน ซึ่งสื่อได้หลากความหมาย เช่น อยากให้แม่แมวมาดูแล ในแมวโตมักส่งเสียงนี้เวลาที่มีความสุข เมื่อเจอกับเจ้าของหรือแมวตัวอื่นที่เป็นมิตร โดยบางตัวอาจแสดงอาการกลิ้งไปมาหรือเอาคางมาถูขณะที่ส่งเสียง ในทางตรงกันข้ามแมวที่บาดเจ็บหรือป่วยหนักมาก ๆ อาจส่งเสียงครางแบบนี้ได้เช่นกัน แต่ลักษณะของเสียงจะยาวและต่อเนื่องมากกว่าปกติ

           เมี้ยว (MEOW) แมวจะเปิดปากเพื่อส่งเสียงและค่อย ๆ ปิดปากลง สังเกตกันไหมครับว่าแมวส่วนมากมักใช้เสียงนี้เวลาจะคุยกับคนเท่านั้น น้อยครั้งมากที่แมวจะร้องเสียงนี้เพื่อสื่อสารกับแมวด้วยกัน เพราะภาษานี้บรรพบุรุษของแมวเริ่มเรียนรู้ที่จะออกเสียงตอนที่เริ่มมาอาศัยอยู่กับคนเป้าหมายหลักของการส่งเสียง คือ อยากให้คนมาสนใจ อยากให้เล่นด้วย หรือต้องการขออาหารเวลาที่อยากรู้ว่าแมวจะสื่อความหมายไหนคงต้องดูภาษาท่าทางและสถานการณ์ขณะนั้นประกอบครับ

           คำราม (GROWL) เสียงที่เปล่งออกมาขณะที่แมวเปิดปากค้างไว้ โดยใช้ระดับเสียงต่ำ แม่แมวมักส่งเสียงนี้เป็นสัญญาณเตือนให้ลูกหาที่หลบภัย เมื่อมีอันตราย เสียงนี้มักใช้เพื่อแสดงความก้าวร้าวใส่แมวตัวอื่น ก่อนที่แมวทั้งสองจะต่อสู้กัน

           ขู่ฟ่อ (HISS) เสียงพ่นลมแรง ๆ ออกจากปากที่เปิดไวเล็กน้อย แมวมักส่งเสียงนี้เวลาที่รู้สึกตกใจ รู้สึกกลัว หรือเมื่อต้องป้องกันตัวเองยามมีศัตรูมา ลูกแมวเรียนรู้ที่จะส่งเสียงนี้ได้ตั้งแต่ก่อนที่จะลืมตา

ขอบคุณเรื่อง : น.สพ.กมล ภาคย์ประเสริฐ 
ที่มา : www.kapook.com